แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท? ยี่ห้อไหนได้รับความนิยมที่สุด?

แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท? ยี่ห้อไหนได้รับความนิยมที่สุด?

   แบตเตอรี่รถยนต์คือ อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟฟ้าและจัดเก็บแหล่งพลังงานไฟฟ้าของรถยนต์ มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มาก แบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังอุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ ของรถเช่น เครื่องยนต์ ระบบไฟส่องสว่างและระบบอื่น ๆ ที่ต้องการกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงเพื่อให้ทำงานได้ เช่น ระบบจุดระเบิด มอเตอร์สตาร์ท เป็นต้น  รวมไปถึงเป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองที่ได้รับจากการหมุนของไดร์ชาร์จนั้นเอง   ในกรณีที่แบตเตอรี่มีไฟฟ้าไม่เพียงพอก็ไม่สามารถสตาร์ทรถยนต์ให้ติดได้

สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่หมด
  1. แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน ปกติแล้วอายุของแบตเตอรี่จะใช้ได้ประมาณ 3-5 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานและสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย
  2. ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ ทำให้ประจุไฟฟ้าที่จะเข้าไปยังแบตเตอรี่เข้าได้น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
5 สัญญาณเตือนแบตเตอรี่ใกล้หมดสภาพ
  1. เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดช้าหรือติดยากขึ้น
  2. แสงไฟหน้ารถยนต์สว่างน้อยลง
  3. กระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
  4. ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปกติ
  5. ใช้แบตเตอรี่มานานเกิน 2 ปี
แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท?

ประเภทที่ 1 แบตเตอรี่แบบแห้ง (Sealed Maintenance Free) หรือ SMF

    แบตเตอรี่แบบแห้ง เป็นแบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน หรือสังเกตง่าย ๆ คือไม่มีรูสำหรับเติมน้ำกลั่นเลย ภายในของแบตเตอรี่ตัวนี้ไม่ได้แห้งเหมือนชื่อ แต่ภายในถูกบรรจุด้วยของเหลวสำหรับทำปฏิกิริยานั้นเอง แบตเตอรี่แบบนี้มีการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟมาให้เรียบร้อยจากโรงงาน

ข้อดีของแบตเตอรี่แห้ง

  • ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน สะดวก ดูแลรักษาง่าย
  • ได้รับมาตรฐานเท่ากันทุกลูก เพราะได้รับการชาร์จไฟและเติมน้ำกรดจากโรงงาน
  • แบตเตอรี่แบบแห้ง เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาให้ดีกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ มีค่าแอมป์และค่า CCA ที่สูง แรงสตาร์ทก็มากตาม

ข้อเสียของแบตเตอรี่แห้ง

  • ราคาสูงกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ
  • แบตเตอรี่แบบแห้ง ไม่เหมาะกับการเก็บไว้นาน ๆ โดยไม่ใช้งาน เพราะอาจเสื่อมคุณภาพลง
  • ถ้าที่ปิดผนึกด้วยซีล ไม่ใช่แบบอีเล็กโตรไลท์ ซีลของช่องหายใจหลุด อาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ เนื่องจากมีความชื้นเข้าไปข้างใน

ประเภทที่ 2 แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง (Maintenance Free) หรือ MF

แบตเตอรี่ประเภทนี้จะมีความคล้ายกับแบตเตอรี่แบบแห้ง แต่จะแตกต่างกันตรงที่แบตเตอรี่กึ่งแห้งยังคงมีรูสำหรับเติมน้ำกลั่นนั้นเอง

ข้อดีของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  • ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องหมั่นเติมน้ำ (เฉลี่ยเติม 1-2 ครั้งต่อปี)
  • ราคาย่อมเยากว่าแบตเตอรี่แบบแห้ง
  • มีความทนทานสูง

ข้อเสียของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

  • แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง มีราคาสูงกว่าแบตเตอรี่ประเภทน้ำ
  • ยังคงต้องเติมน้ำกลั่นอยู่บ้าง

ประเภทที่ 3 แบตเตอรี่แบบน้ำ (Conventional Battery)

   แบตเตอรี่แบบน้ำ ถือว่าเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้มาตั้งแต่ดังเดิม มีความแตกต่างจากแบบแห้งเป็นอย่างมาก มีรูสำหรับการเติมน้ำกลั่น  ซึ่งแบตเตอรี่แบบน้ำนี้ต้องอาศัยการเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอ เพราะจะมีการสูญเสียน้ำค่อนข้างสูง ถ้าผู้ใช้งานลืมเติมน้ำกลั่นหรือปล่อยให้น้ำระเหยออกจากแบตเตอรี่หมด จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ อายุการใช้งานสั้นลง

ข้อดีของแบตเตอรี่น้ำ

  • มีราคาถูกกว่าแบตเตอรี่รุ่นอื่น ๆ
  • อายุการใช้งานนานกว่า หากดูแลและเติมน้ำกลั่นอย่างถูกต้อง อาจอยู่ได้นานกว่าแบตเตอรี่แบบแห้ง 3-5 เดือน

ข้อเสียของแบตเตอรี่น้ำ

  • ควรหมั่นตรวจเช็กและเติมน้ำกลั่นอยู่สม่ำเสมอ
  • มีค่าแอมป์และค่า CCA น้อยกว่าแบตเตอรี่แบบแห้ง
  • แบตเตอรี่แบบน้ำนี้ ทางร้านที่จัดจำหน่าย มักเป็นผู้เติมน้ำกรดและชาร์จไฟเอง ทำให้การเติมน้ำกรดและการชาร์จไฟ บางทีไม่ได้รับมาตรฐาน

ประเภทที่ 4 แบตเตอรี่แบบไฮบริด (Hybrid Battery)

แบตเตอรี่แบบไฮบริดเป็นลูกผสมของแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้งและน้ำ มีค่าแรง CCA สูง มักมีขนาดใหญ่กว่าแบตเตอรี่ประเภทอื่น อาศัยการเติมน้ำกลั่นประมาณ 6-9 เดือนต่อครั้ง

ข้อดีของแบตเตอรี่ไฮบริด

  • ราคาถูกกว่าแบตเตอรี่แบบแห้ง
  • มีค่าแรง CCA สูงกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ

ข้อเสียของแบตเตอรี่ไฮบริด

  • ราคาแพงกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ
  • ยังต้องตรวจเช็กและเติมน้ำกลั่น
ควรเลือกแบตเตอรี่ให้เหมาะกับรถยนต์อย่างไร?
  1. ควรเลือกแบตเตอรี่ที่ได้รับมาตรฐานหรือเป็นยี่ห้อที่มีชื่อเสียง
  2. ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกแบตเตอรี่ที่เพิ่งผลิต เพราะบางทีการใช้แบตเตอรี่ที่ค้าง Stock อาจทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานลดน้อยลงและเสื่อมสภาพไวกว่าปกติ
  3. ควรซื้อแบตเตอรี่ให้เหมือนกับของเดิมที่ติดมากับรถยนต์ เช่น ขนาดของแบตเตอรี่ แอมแปร์ต้องเท่ากันหรือมากกว่าที่เคยติดมากับตัวรถ
ตารางเปรียบเทียบการเลือกแบตเตอรี่ให้ความเหมาะสมของผู้ใช้งาน

เลือกจาก

แบตเตอรี่ที่เหมาะสม

เหตุผล

กำลังสตาร์ทสูง

แบตเตอรี่กึ่งแห้งและแห้ง

ทำให้มีกำลังสตาร์ทสูง

ราคาถูก

แบตเตอรี่แบบน้ำ

มีราคาย่อมเยา

คุ้มราคาที่สุด

แบตเตอรี่กึ่งแห้ง

เมื่อเทียบกับราคาและคุณภาพ ถือว่าคุ้มค่าที่สุด

การดูแลรักษาน้อย

แบตเตอรี่กึ่งแห้งและแห้ง

* แบบกึ่งแห้งไม่ต้องหมั่นเติมน้ำ

* แบบแห้งไม่ต้องเติมน้ำ สะดวกต่อการใช้งาน

6 ยี่ห้อแบตเตอรี่รถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเมืองไทย
  1. ยี่ห้อ GS Battery  เป็นผู้ผลิตและนำเข้าจัดจำหน่ายแบตเตอรี่เจ้าใหญ่รายแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรองรับมาตรฐานจาก ISO 9002/QS9000/ISO 14001 และ ISO/TS 16949 และยังมีนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ได้รับมาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่น  อีกทั้งมีแบตเตอรี่ให้เลือกหลายรูปแบบ
  1. ยี่ห้อ Bosch เป็นแบตเตอรี่จากประเทศเยอรมัน มีราคาแพง สามารถใช้กับรถยนต์ที่ใช้งานหนัก ๆ ได้โดยกระแสไฟเสถียรไม่ตกและยังเก็บไฟได้นานโดยไม่ต้องคอยสตาร์ท อีกทั้งยังมีการพัฒนาคุณภาพแบตเตอรี่อยู่เรื่อย ๆ  มีสโลแกนเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม
  1. ยี่ห้อ 3k  ยี่ห้อนี้เป็นที่คุ้นหูคนไทยอยู่แล้ว มีหลากหลายประเภทให้เลือก หาซื้อง่าย คุ้มค่าคุ้มราคา มีความปลอดภัยและได้รับมาตรฐาน  ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดได้รับการวิจัยและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีสากล
  1. ยี่ห้อ Panasonic  แบตเตอรี่ยี่ห้อนี่มีราคาประหยัด ทนทาน มีประสิทธิภาพในการเก็บและจ่ายไฟได้เต็ม 100% อีกทั้งยังได้รับมาตรฐานตามสากลมากมาย
  1. ยี่ห้อ Amaron  แบตเตอรี่น้องใหม่จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กล้ารับประกันอายุการใช้งานถึง 24 เดือนและมีให้เลือกหลายประเภทด้วยกัน
  1. ยี่ห้อ FB  แบตเตอรี่ยี่ห้อ FB ทางแบรนด์ให้คำนิยามว่าเป็นผู้นำด้านแบตเตอรี่ในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่า 50 ปี มีการคิดค้นวัตถุดิบใหม่ ๆ เพื่อให้ได้คุณภาพในการผลิต แบตเตอรี่มีความอึด ทน พลังสูง และมีให้เลือกหลากหลายประเภทด้วยกัน ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

   สรุปแล้วแบตเตอรี่รถยนต์ มีหลากหลายประเภทให้เลือกซื้อ ผู้ใช้งานควรศึกษารายละเอียดแบตเตอรี่ว่ายี่ห้อไหนดีที่สุดและเปลี่ยนแบตเตอรี่ตามที่เหมาะสมกับตัวรถ เพื่อให้ตรงกับความต้องการและการใช้งาน   BRG แนะนำว่าผู้ใช้งานควรเลือกแบตเตอรี่ที่ได้รับมาตรฐาน เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยและไม่เสื่อมสภาพไว

ดูรายละเอียดรถรุ่นต่าง ๆ  คลิก

ดูโปรโมชั่นศูนย์บริการ คลิก  

อ่านสาระน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลรถยนต์ คลิก 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save